การใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต

บริการตรวจสอบกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ของท่าน ตรวจสอบ

กฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต

Phuket Land Use Laws and Regulations
ศึกษากฎหมาย

งานศึกษาวิจัยล่าสุด

การทำแผนที่บริเวณตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS และ Remote Sensing ทำให้ได้มาซึ่งแผนที่ประกอบการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในรูปแบบ digital สามารถนำประยุกต์ใช้งานตามสภาพพื้นที่จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการบูรณาการข้อมูลด้าน GIS และ RS ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จึงเป็นโครงการเร่งด่วนที่เรากำลังดำเนินการอยู่

ปัญหาสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินของเจ้าหน้าที่รัฐในท้องที่ คือการตีความและการอ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฉบับที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน ซึ่งยากต่อการปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย

การศึกษาความไม่สอดคล้องกันในเชิงพื้นที่ และนิยามตามเนื้อหากฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐ ในรูปแบบ content analysis และ matrix analysis จะสามารถระบุความไม่สอดคล้องกันของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้ เพื่อการนำไปสู่การแก้ไขกฎระเบียบ และสร้างแนวปฏิบัติที่สามารถลดปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย และความขัดแย้งในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

One map solution สำหรับการบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของจังหวัดภูเก็ต ในลักษณะ smart governance จะสามารถสนับสนุนการเป็น smart city ของจังหวัดภูเก็ตตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

โครงการศึกษาความเป็นไปได้ และการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Smart Data Integration and Visualization for Decision Making ที่อยู่บน Cloud Platform สำหรับหน่วยงานภาครัฐและประชาชนทั่วไป จึงเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เราต้องการทำให้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตของเราอย่างยั่งยืน

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา

ดร.แสงดาว วงค์สาย

Website นี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยเรื่องระบบบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐข้ามหน่วยงาน: ด้านกฎหมายและนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน ภายใต้แผนงานวิจัย Phuket Excellent Map มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อการให้บริการสาธารณะด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดเกี่ยวกับนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิดการใช้ทรัพยากรข้อมูลร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถหาได้โดยประหยัดค่าใช้จ่าย ทีมนักวิจัยขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยทั้งในด้านการสนับสนุนข้อมูล ทุนวิจัย และการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงงานวิจัยอย่างต่อเนื่องจนได้เป็น www.landusephuket.com ในปัจจุบัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลผลิตและบริการที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยในเฟสนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคสังคม และประชาชนทั่วไป ในขณะเดียวกันการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ของท่าน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดของเราเช่นกัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แสงดาว วงค์สาย (หัวหน้าโครงการ)

บริการ

ตรวจสอบพื้นที่ของท่านตามกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดิน

  • จังหวัดภูเก็ต
    เส้นขอบเขตการปกครอง
    แหล่งน้ำสาธารณะ
    แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กฟผ
    ถนนสาธารณะ
    ความลาดชันของพื้นที่ (อัตราร้อยละ)
    บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ที่มีความชันระหว่างอัตราร้อยละ ๒๐ ถึง ๓๕ เมตร
    บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่มีความชันมากกว่าอัตราร้อยละ ๓๕ เมตร
    ประกาศสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. ๒๕๖๐)
    บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลรอบเกาะภูเก็ตเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๕๐ เมตร
    บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๑ เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๑๕๐ เมตร
    บริเวณที่ ๓ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๒ เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๒๐๐ เมตร
    บริเวณที่ ๔ : พื้นที่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต
    บริเวณที่ ๕ : พื้นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
    บริเวณที่ ๖ : พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ ๔๐ - ๘๐ เมตร
    บริเวณที่ ๗ : พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า ๘๐ เมตร ขึ้นไป
    บริเวณที่ ๘ : พื้นที่ในเกาะภูเก็ตและเกาะต่าง ๆ นอกจากบริเวณที่ ๑ ถึง บริเวณที่ ๗
    บริเวณที่ ๙ : พื้นที่น่านน้ำทะเลภายในเขตจังหวัดภูเก็ต
    กฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
    บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ในบริเวณที่เริ่มจากแนวเขตควบคุมอาคารตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกข้ามถนนป่าตอง-กมลา ถนนทวีวงศ์ และถนนเลียบริมหาดป่าตองจนถึงระยะที่ห่างจากแนวศูนย์กลางถนนป่าตอง-กมลา ถนนทวีวงศ์ และถนนเลียบริมหาดป่าตอง ๑๕ เมตร ไปทางทิศเหนือจดเขตตำบลกมลา ไปทางทิศใต้จนจดบริเวณที่ห่างจากกึ่งกลางคลองปากบางไปทางทิศใต้ตามแนวถนนเลียบริมหาดป่าตองเป็นระยะ ๕๐๐ เมตร
    บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่วัดจากแนวศูนย์กลางถนนราษฏรอุทิศ ถนนสองร้อยปี และถนนทุกสายที่เชื่อมระหว่างถนนทวีวงค์กับถนนราษฏรอุทิศ และถนนสองร้อยปี ออกไปทั้งสองข้าง ข้างละ ๑๕ เมตร
    บริเวณที่ ๓ : พื้นที่ที่วัดจากสุดแนวเขตบริเวณที่ ๑ ตลอดแนวไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะ ๑๕๐ เมตร
    บริเวณที่ ๔ : พื้นที่ในบริเวณระว่างบริเวณที่ ๒ กับบริเวณที่ ๓ และพื้นที่ในบริเวณที่วัดจากสุดแนวเขตบริเวณที่ ๒ ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ตลอดแนวบริเวณที่ ๓ กว้าง ๑๕๐ เมตร
    กฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๒)
    บริเวณที่ ๑ : พื้นที่วัดจากแนวชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตลงไปในทะเล ๑๐๐ เมตร และวัดจากแนวชายฝั่งเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๕๐ เมตร ยกเว้นพื้นที่ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
    บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๑ เข้าไปในแผ่นดิน เป็นระยะ ๑๕๐ เมตร
    บริเวณที่ ๓ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๒เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๓๐๐ เมตร
    กฎหมายผังเมือง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๘)
    บริเวณที่ ๑ : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
    บริเวณที่ ๒ : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
    บริเวณที่ ๓ : ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
    บริเวณที่ ๔ : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
    บริเวณที่ ๕ : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ
    บริเวณที่ ๖ : ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
    บริเวณที่ ๗ : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    บริเวณที่ ๘ : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
    บริเวณที่ ๙ : ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
    บริเวณที่ ๑๐ : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพการท่องเที่ยวและการประมง
    บริเวณที่ ๑๑ : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
    บริเวณที่ ๑๒ : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
    บริเวณที่ ๑๓ : ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
    บริเวณที่ ๑๔ : ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา
    บริเวณที่ ๑๕ : ที่ดินประเภทสถาบันราชการ
    บริเวณที่ ๑๖ : ที่ดินประเภทโครงการคมนาคมและขนส่ง
    เทศบัญญัติ เทศบาลเมืองป่าตอง (พ.ศ. ๒๕๔๘)
    บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ในบริเวณเทศบาลเมืองป่าตอง เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ ๒ และพื้นที่ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙) และ ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๒)
    บริเวณที่ ๒ :
    ทิศเหนือ: จุดที่บรรจบเขตถนนราษฎร์อุทิศ ๒๐๐ ปีฟากตะวันออก กับเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๙ ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันออกจดเขตถนนผังเมืองสาย ก ฟากตะวันตก และจุดที่บรรจบเขตถนนผังเมืองสาย ก กับเขตถนนไสน้ำเย็นฟากใต้ไปทางทิศตะวันออกจดเขตถนนนาในฟากตะวันตก
    ทิศตะวันออก: จดเขตถนนนาในฟากตะวันตก
    ทิศใต้: จุดที่บรรจบเขตถนนราษฎร์อุทิศ ๒๐๐ ปีฟากตะวันออก กับเขตถนนประชานุเคราะห์ ฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกจดเขตถนนนาในฟากตะวันตก
    ทิศตะวันตก: จดเขตถนนราษฎร์อุทิศ ๒๐๐ ปีฟากตะวันออก

    ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา ศาสนสถาน และที่สาธารณประโยชน์
    กรุณาเลือกประเภทสิ่งปลูกสร้าง
    กลุ่ม:
    ประเภท:
    กิจการ:
    10 สิ่งปลูกสร้างที่มีการตรวจสอบมากที่สุด

    หรือ

นโยบาย และกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต

ประกาศสิ่งแวดล้อม (๒๕๖๐)

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๖๐

กฎหมายควบคุมอาคาร (๒๕๒๙)

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

กฎหมายควบคุมอาคาร (๒๕๓๒)

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

กฎหมายผังเมืองรวม (๒๕๕๘)

กฏกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๕๔ และ พ.ศ. ๒๕๕๘

เทศบัญญัติเทศบาลเมืองป่าตอง (๒๕๔๘)

กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารในพื้นที่เทศบาลเมืองป่าตอง พ.ศ. ๒๕๔๘

จากจุดเริ่ม จนถึงปัจุบัน

นายช่าง สมพร อ่อนทอง
นายช่าง สมพร อ่อนทอง
(หัวหน้าฝ่ายออกแบบและควบคุมอาคาร กองช่าง อบต.ไม้ขาว)

ปี 2554 ผมเรียนปริญญาโทหลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มอ. ภูเก็ต หัวข้อวิทยานิพนธ์ของผมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ที่สูงกว่า 80 เมตรในพื้นที่ตำบลกมลา ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานในตำแหน่งหน้าที่ในขณะนั้นของผมโดยตรง เราสร้างแผนที่ตามข้อกำหนดในกฎหมายสิ่งแวดล้อม มาตรวจสอบการก่อสร้างอาคารในพื้นที่ ตอนนั้นยังเป็นระบบ offline อยู่ ซึ่งสามารถสนับสนุนการทำงานของ อบต.กมลา ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายได้ระดับหนึ่งเลยที่เดียว

นายดิษฐนันท์ เส็นฤทธิ์
นายดิษฐนันท์ เส็นฤทธิ์
(นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 ภูเก็ต)

ผมจบปริญญาตรีมาทาง IT แต่อยากศึกษาต่อทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่มีการประยุกต์ใช้งานด้านเทคโนโลยี GIS มาช่วยในการจัดการ ผมจึงได้นำความรู้ทางด้าน IT และ GIS มาประยุกต์และพัฒนาต่อยอดจากแนวคิดและงานวิจัยของรุ่นพี่ที่จบไป ให้ออกมาเป็นรูปแบบสารสนเทศบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แต่เปลี่ยนพื้นที่มาเป็นตำบลเชิงทะเล และเพิ่มกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินฉบับอื่น ๆ เข้าไปในขอบเขตงานวิจัยของผม และงานที่ผมได้ทำไป ทำให้ผมจบปริญญาโท จากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มอ. ภูเก็ต ในปี 2556

นางสาวจุฑาพร เกษร นายอดิศร รัชนิพนธ์
นางสาวจุฑาพร เกษร และ นายอดิศร รัชนิพนธ์
(นักวิจัย คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มอ.ภูเก็ต)

การใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นงานวิจัยหลัก ๆ ตามนโยบายขอคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทางคณะสนับสนุนให้เกิดการนำเอางานวิจัยของคณะไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื่นที่ เราจึงได้นำเอางานวิจัยที่มีอยู่มาพัฒนาให้มี scale ใหญ่ขึ้น ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดภูเก็ต โดยได้นำเอาแผนที่แนบท้ายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินมาเป็นจุดเริ่มในการพัฒนาระบบสารสนเทศ online ที่สามารถให้บริการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกี่ยวข้อง

นางสาวนพภัสสร วงศ์ชู นางสาวพรรณิภา สุวรรณ นางสาวสุภารัตน์ พิใจดี
นางสาวนพภัสสร วงศ์ชู นางสาวพรรณิภา สุวรรณ และ นางสาวสุภารัตน์ พิใจดี
(บัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มอ.ภูเก็ต)

ตอนปี 4 พวกหนูโชคดีที่ได้ทำ senior project กับอาจารย์แสงดาว วงค์สาย ที่เกี่ยวกับการบูรณาการข้อมูลนโยบายและกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบ GIS โดยพวกหนูได้เลือกพื้นที่เขตเทศบาลเมืองป่าตองเป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากมีเทศบัญญัติเทศบาลเมืองป่าตอง ปี 2548 บังคับใช้เฉพาะ ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เช่น ความขัดแย้งกันของกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐ ที่บังคับใช้ในระดับประเทศ จังหวัด และท้องถิ่น ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจมากที่ทำให้พวกหนูได้รับรางวันชมเชยในการแข่งขันการนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 ปี 2558 ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายเอกชัย กกแก้ว อาจารย์ นพชัย วงค์สาย
นายเอกชัย กกแก้ว และ ดร.นพชัย วงค์สาย
(นักศึกษาปริญาโท และอาจารย์คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มอ.ภูเก็ต)

หลังจากระบบสารสนเทศ online ในเวอร์ชั่นแรกได้ให้บริการแก่ประชาชนโดยทั่วไป เราได้รับ feedback จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เกี่ยวกับความถูกต้องของการทำงานของระบบ และการตรวจสอบ เนื่องจากแผนที่แนบท้ายกฎหมายแต่ละฉบับถูกสร้างจากต่างหน่วยงานกัน ทำให้เกิดปัญหาการซ้อนทับกันของขอบเขต เราจึงได้ทำการปรับปรุงระบบตรวจสอบ โดยจัดทำแผนที่ตามข้อกำหนดของแต่ละกฎหมายขึ้นใหม่ เพื่อทำให้ขอบเขตของแต่ละบริเวณที่กฎหมายบังคับใช้ไม่เกิดการ overlap กัน และทำการวิเคราะห์เนื้อหากฎหมาย พร้อมกับจัดรูปแบบเนื้อหากฎหมายให้อยู่ในรูปฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการตรวจสอบ

รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม
รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม
(รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต)

www.landusephuket.com เป็นผลงานวิจัยที่เกิดจากการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องของอาจารย์ ดร.แสงดาว วงค์สาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ (public service) ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินของจังหวัดภูเก็ตให้เป็นไปอย่างมีระบบ โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย ทำให้สามารถตอบโจทย์ในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นปัญหามาก่อนหน้านี้ และจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ผู้บริหารจะสามารถนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายต่าง ๆ ได้

รศ. ดร.แสงดาว วงค์สาย ผศ. ดร.แสงดาว วงค์สาย อาจารย์ นพชัย วงค์สาย
รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล ผศ.ดร.แสงดาว วงค์สาย และ ดร.นพชัย วงค์สาย
(คณะทำงาน โครงการเผยแพร่นวัตกรรม)

หลังจาก www.landusephuket.com ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น และ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2561 เราอยากเห็นการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในท้องถิ่นและระดับประเทศ เราได้ทำการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นี้ให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และในปี 2562 เราได้รับทุนต่อเนื่องเพื่อเผยแพร่และผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไปเป็นแนวทางในการจัดทำเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาใน 5 จังหวัดภาคตะวันออก

งานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลงานศึกษา และผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ

  • 2018_ข้อมูลเชิงโครงสร้างและเชิงพื้นที่ของกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน

    2561

    ข้อมูลเชิงโครงสร้างและเชิงพื้นที่ของกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน

  • 2016_การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายภาครัฐ

    2559

    การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายภาครัฐ

  • 2016_การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพี้นที่จังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน ประเทศไทย

    2559

    การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพี้นที่จังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน ประเทศไทย

  • 2015_Web application for GIS-based tourism data integration of Phuket province, Thailand

    2558

    Web application for GIS-based tourism data integration of Phuket province, Thailand

  • 2013_Land use change after Tsunami, Cherng Talay Sub-distric, Thaland, Phuket, Thailand

    2556

    Land use change after Tsunami, Cherng Talay Sub-distric, Thaland, Phuket, Thailand

  • 2013_Historical land use and land cover changes, 1989-2011, in Phuket, Thailand

    2556

    Historical land use and land cover changes, 1989-2011, in Phuket, Thailand

  • 2013_No buildings on lands over 80 meters above sea level a case study of Kamala Phuket

    2556

    No buildings on lands over 80 meters above sea level? - a case study of Kamala Phuket

  • 2013_Oil palm expansion in Amphoe Lam Thap, Krabi province, Thailand

    2556

    Oil palm expansion in Amphoe Lam Thap, Krabi province, Thailand

  • 2012_Application of remote sensing for monitoring land cover and land use change in Phang-nga province, Thailand.

    2555

    Application of remote sensing for monitoring land cover and land use change in Phang-nga province, Thailand

  • 2012_Urban change monitoring and land use policy

    2555

    Urban change monitoring and land use policy

  • 2012_Is oil palm agriculture expansion really restricted to pre-exising cropland?

    2555

    Is oil palm agriculture expansion really restricted to pre-exising cropland?

  • 2012_Land use change and the town planning policy of Phuket

    2555

    Land use change and the town planning policy of Phuket

ติดต่อเรา

ส่งข้อความ คำถาม หรือคำแนะนำ

ข้อมูลการติดต่อ

คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120

076 276118 ต่อ 6479

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

089 726 0200

หัวหน้าโครงการ : sangdao.mathstat@gmail.com

Web Admin : naong69@gmail.com

GDEN Research Group (www.rgden.com)