หน้าแรก
|
กฎหมายที่ดิน
|
ติดต่อเรา
นโยบายภาครัฐ
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมือง
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2554
ผังเมือง ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม สำหรับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ตมีทั้งหมด 16 บริเวณ ดังนี้
* คลิกบริเวณ เพื่อตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินของแต่ละบริเวณ
บริเวณที่ 1 : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
บริเวณที่ 2 : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
บริเวณที่ 3 : ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย
หนาแน่นมาก
บริเวณที่ 4 : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
บริเวณที่ 5 : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ
บริเวณที่ 6 :ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
บริเวณที่ 7 :ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
บริเวณที่ 8 :ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
บริเวณที่ 9 : ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
บริเวณที่ 10 : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการประมง
บริเวณที่ 11 : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
บริเวณที่ 12 : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
บริเวณที่ 13 : ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์
ศิลปวัฒนธรรมไทย
บริเวณที่ 14 : ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา
บริเวณที่ 15 : ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธาฌูโภค
และสาธารฌูปการ
บริเวณที่ 16 : ที่ดินประเภทโครงการคมนาคมและขนส่ง
ข้อกำหนดของกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2554 โดยสรุป
*** คลิกที่ปุ่ม เพื่อดูการกำหนดให้ใช้ประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต
รายละเอียดเพิ่มเติม
บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 5 บริเวณที่ 6 บริเวณที่ 7 บริเวณที่ 8 บริเวณที่ 10 บริเวณที่ 11 และบริเวณที่ 12 ที่อยู่ในบริเวณ แนวเขตอุทยานแห่งชาติ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษา หรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
บริเวณที่ 7 และบริเวณที่ 8 ถ้าหากเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย การท่องเที่ยว สถาบันราชการการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่
บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 5 บริเวณที่ 6 และบริเวณที่ 8 ที่อยู่ี้ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วย
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จำแนกพื้นที่ออกเป็น 9 บริเวณ
* คลิกบริเวณ เพื่อตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินของแต่ละบริเวณ
บริเวณ 1 : พื้นที่ที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลรอบเกาะภูเก็ตเข้าไป
ในแผ่นดินเป็นระยะ 50 เมตร
บริเวณ 2 : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ 1 เข้าไปในแผ่นดิน
เป็นระยะ 150 เมตร
บริเวณ 3 : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ 2 เข้าไปในแผ่นดิน
เป็นระยะ 150 เมตร
บริเวณที่ 4 พื้นที่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต
บริเวณ 5 : พื้นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
บริเวณ 6 : พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ตั้งแต่ 10 - 80 เมตร
บริเวณ 7 : พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เกินกว่า 80 เมตร ขึ้นไป
บริเวณ 8 : พื้นที่ในเกาะภูเก็ตและเกาะต่าง ๆ นอกจากบริเวณ
ที่ 1 ถึง บริเวณที่ 7
บริเวณ 9 : พื้นที่น่านน้ำทะเลภายในเขตจังหวัดภูเก็ต
ข้อกำหนดของประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ. 2553 โดยสรุป
*** คลิกที่ปุ่ม เพื่อดูการกำหนดให้ใช้ประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้ที่ดินตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อาคารทุกประเภทที่สามารถปลูกสร้างได้ ต้องมีข้อกำหนดความสูงดังต่อไปนี้ บริเวณที่ 1 อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร และต้องห่างจากแนวชายฝั่งทะเลไม่น้อยกว่า 20 เมตร บริเวณที่ 2 อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร บริเวณที่ 3 อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 16 เมตร บริเวณที่ 5 อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 8 เมตร บริเวณที่ 6 อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร และบริเวณที่ 8 อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร
กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้จำแนกพื้นที่ออกเป็น 3 บริเวณ
* คลิกบริเวณ เพื่อตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินของแต่ละบริเวณ
บริเวณ 1
บริเวณ 2
บริเวณ 3
ข้อกำหนดของกฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยสรุป
*** คลิกที่ปุ่ม เพื่อดูการกำหนดให้ใช้ประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้ที่ดินตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดเพิ่มเติม
อาคารทุกประเภทที่สามารถปลูกสร้างได้ ต้องมีข้อกำหนดความสูงดังต่อไปนี้ บริเวณที่ 1 สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร บริเวณที่ 2 สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร
กฎกระทรวงฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ควบคุมอาคารเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ พื้นที่บางส่วนในตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง ตำบลกมลา ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ และตำบลกะรน ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
Copyright 2013 All Right Reserve